ภาพเกราะเชจู

ภาพเกราะเชจู
เกราะที่สวยที่สุดในประเทศเกาหลีใต้

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

ประวัติประเทศ ญี่ปุ่น
ยุคโบราณ

เครื่องปั้นดินเผายุคโจมง
สันนิษฐานว่ามนุษย์มาอาศัยในญี่ปุ่นครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า เมื่อประมาณ 35,000 ปีก่อนพุทธศักราช[19] หลังจากนั้นยุคโจมงก็เริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณ 10,000 ปีก่อนพุทธศักราช ผู้คนดำรงชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์[20] มีการพัฒนาวิธีการล่าสัตว์โดยใช้คันธนูและลูกธนู ตลอดจนมีการผลิตภาชนะเครื่องปั้นดินเผาใส่อาหารและเก็บรักษาอาหาร คำว่าโจมงในภาษาญี่ปุ่นแปลว่าลายเชือกซึ่งมาจากลวดลายเชือกบนภาชนะในยุคนั้นที่ค้นพบในช่วงแรก
ยุคยะโยอิ เริ่มเมื่อประมาณ 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นยุคที่ผู้คนเริ่มเรียนรู้วิธีการปลูกข้าว การตีโลหะ ซึ่งได้รับความรู้มาจากผู้อพยพชาวจีนแผ่นดินใหญ่[21] การกล่าวถึงญี่ปุ่นครั้งแรกปรากฏขึ้นในบันทึกของราชสำนักจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น โฮ่วฮั่นชู (後漢書) ในปี 57 ก่อนคริสตกาล [22] ซึ่งเรียกชาวญี่ปุ่นว่า วะ (倭) ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8 อาณาจักรที่ทรงอำนาจมากที่สุดในญี่ปุ่นคือยะมะไทโคะกุ (邪馬台国) ปกครองโดยราชินีฮิมิโกะ ซึ่งเคยส่งคณะทูตไปยังประเทศจีนผ่านทางเกาหลีด้วย

 ยุคเริ่มอารยธรรมญี่ปุ่น


สุสานจักรพรรดิในสมัยยุคโคะฮุง
ยุคโคะฮุง ซึ่งตั้งชื่อตามสุสานที่นิยมสร้างขึ้นกันในยุคดังกล่าวเริ่มต้นตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 9 จนถึง 12 เป็นยุคที่ญี่ปุ่นเริ่มมีการปกครองแบบราชวงศ์ ซึ่งศูนย์กลางการปกครองนั้นอยู่บริเวณเขตคันไซ ในยุคนี้พระพุทธศาสนาได้เข้ามาจากคาบสมุทรเกาหลีสู่หมู่เกาะญี่ปุ่น[23] แต่พระพุทธรูปและพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่นหลังจากนั้นได้รับอิทธิพลจากจีนเป็นหลัก[24] เจ้าชายโชโตะกุทรงส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจีน ญี่ปุ่นจึงได้รับนวัตกรรมใหม่ ๆ จากแผ่นดินใหญ่มาเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังทรงตรารัฐธรรมนูญสิบเจ็ดมาตรา ซึ่งเป็นกฎหมายญี่ปุ่นฉบับแรกอีกด้วย[23] และในที่สุดพระพุทธศาสนาก็ได้รับการยอมรับมากขึ้นตั้งแต่สมัยอะซึกะ[25]
ยุคนะระ (พ.ศ. 1253-1337) [26] เป็นยุคแรกที่มีการก่อตัวเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็ง มีการปกครองอย่างมีระบบให้เห็นได้อย่างชัดเจน โดยการนำระบอบการปกครองมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ ศูนย์กลางการปกครองในขณะนั้นก็คือเฮโจเกียวหรือจังหวัดนะระในปัจจุบัน ในยุคนะระเริ่มพบการเขียนวรรณกรรมเช่นโคจิกิ (พ.ศ. 1255) และนิฮงโชะกิ (พ.ศ. 1263) [27] เมืองหลวงถูกย้ายไปที่นะงะโอกะเกียวเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ และถูกย้ายอีกครั้งไปยังเฮอังเกียว ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเฮอัง
ระหว่าง พ.ศ. 1337 จนถึง พ.ศ. 1728 ซึ่งเป็นยุคเฮอังนั้น ถือได้ว่าเป็นยุคทองของญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นยุคสมัยที่วัฒนธรรมของญี่ปุ่นเองเริ่มพัฒนาขึ้น สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดมากที่สุดคือ การประดิษฐ์ตัวอักษร ฮิรางานะ ซึ่งทำให้เกิดวรรณกรรมที่แต่งโดยตัวอักษรนี้เป็นจำนวนมาก เช่นในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 16 ได้มีการแต่งนวนิยายเรื่องนิทานเกนจิ (源氏物語) ขึ้น ซึ่งเป็นนิยายที่บรรยายเกี่ยวกับการใช้ชีวิต การปกครองของตระกูลฟุจิวาระ และบทกลอนที่ถูกใช้เป็นเนื้อเพลงของเพลงชาติญี่ปุ่น คิมิงะโยะ ก็ถูกแต่งขึ้นในช่วงนี้เช่นเดียวกัน
ยุคศักดินา

วัดคิงกะกุ ในเมืองเกียวโต สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พำนักของโชกุนอะชิกะงะ โยชิมิสึในยุคมุโรมะจิ
ยุคศักดินาญี่ปุ่นเริ่มต้นจากการที่ผู้ปกครองทางการทหารเริ่มมีอำนาจขึ้น พ.ศ. 1728 หลังจากการพ่ายแพ้ของตระกูลไทระ มินะโมะโตะ โน โยริโตโมะ ได้แต่งตั้งตนเองเป็นโชกุน และสร้างรัฐบาลทหารในเมืองคะมะกุระ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคคะมะกุระซึ่งมีการปกครองแบบศักดินา แต่รัฐบาลคามากุระก็ไม่สามารถปกครองทั้งประเทศได้ เพราะพวกราชวงศ์ยังคงมีอำนาจอยู่ในเขตตะวันตก หลังจากการเสียชีวิตของโชกุนโยริโตโมะ ตระกูลโฮโจได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้สำเร็จราชการให้โชกุน รัฐบาลคะมะกุระสามารถต่อต้านการรุกรานของจักรวรรดิมองโกลใน พ.ศ. 1817 และ พ.ศ. 1824 โดยได้รับความช่วยเหลือจากพายุกามิกาเซ่ซึ่งทำให้กองทัพมองโกลประสบความเสียหายอย่างมาก[29]ยุคใหม่

แผนที่จักรวรรดิญี่ปุ่น พ.ศ. 2485
ในยุคเมจิ รัฐบาลใหม่ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิได้ย้ายฐานอำนาจขององค์จักรพรรดิมายังเอโดะ และเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงจากเอโดะเป็นโตเกียว มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองตามแบบตะวันตก เช่นบังคับใช้รัฐธรรมนูญใน พ.ศ. 2443 และก่อตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยใช้ระบบสองสภา นอกจากนี้ จักรวรรดิญี่ปุ่นยังสนับสนุนการรับเอาวิทยาการจากประเทศตะวันตก[36]และทำให้มีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก จักรวรรดิญี่ปุ่นเริ่มมีความขัดแย้งทางทหารกับประเทศข้างเคียงเมื่อพยายามขยายอาณาเขต หลังจากที่ได้ชัยชนะในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2437-2438) และสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น (พ.ศ. 2447-2448) ญี่ปุ่นก็ได้อำนาจปกครองไต้หวัน เกาหลี และตอนใต้ของเกาะซาคาลิน[37]
สงครามโลกครั้งที่หนึ่งทำให้ญี่ปุ่นซึ่งอยู่ฝ่ายไตรภาคี ผู้ชนะ สามารถขยายอำนาจและอาณาเขตต่อไปอีก ญี่ปุ่นดำเนินนโยบายขยายดินแดนต่อไปโดยการครอบครองแมนจูเรียใน พ.ศ. 2474 และเมื่อถูกนานาชาติประณามในการครอบครองดินแดนนี้ ญี่ปุ่นก็ลาออกจากสันนิบาตชาติในสองปีต่อมา[38] ในปี 1936 ญี่ปุ่นลงนามในสนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากลกับนาซีเยอรมนี และเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะในปี 1941[39]
ในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้เสริมสร้างอำนาจทางการทหารให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น หลังจากญี่ปุ่นถูกกีดกันทางการค้าจากสหรัฐอเมริกา ต่อมาจึงได้เปิดฉากสงครามในแถบเอเชียแปซิฟิก (ซึ่งรู้จักกันทั่วไปในชื่อ สงครามมหาเอเชียบูรพา) ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484 โดยการโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล และการยาตราทัพเข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดินแดนอาณานิคมของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรและเนเธอร์แลนด์ ตลอดสงครามครั้งนั้น ญี่ปุ่นสามารถยึดครองประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ทั้งหมด แต่หลังจากที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ให้แก่สหรัฐอเมริกาในการรบทางน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกหลังจากยุทธนาวีแห่งมิดเวย์ (พ.ศ. 2485) ญี่ปุ่นก็ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็ยังไม่ยอมแพ้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตรโดยง่าย เมื่อต้องเผชิญหน้ากับระเบิดปรมาณูของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถูกทิ้งที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ (ในวันที่ 6 และ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ตามลำดับ) และการรุกรานของสหภาพโซเวียต (วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2488) ญี่ปุ่นจึงประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไขในวันที่ 15 สิงหาคม ปีเดียวกัน[40] สงครามทำให้ญี่ปุ่นต้องสูญเสียพลเมืองนับล้านคนและทำให้อุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเสียหายอย่างหนัก ฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกาได้ส่งพลเอกดักลาส แมกอาร์เธอร์เข้ามาควบคุมญี่ปุ่นตั้งแต่หลังสงครามจบ
ใน พ.ศ. 2490 ญี่ปุ่นเริ่มใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งเน้นเรื่องประชาธิปไตยอิสระ การควบคุมญี่ปุ่นของฝ่ายสัมพันธมิตรสิ้นสุดเมื่อมีการลงนามในสนธิสัญญาซานฟรานซิสโกใน พ.ศ. 2499[41] และญี่ปุ่นได้เป็นสมาชิกสหประชาชาติในปี 1956[42] หลังจากสงครามญี่ปุ่นสามารถพัฒนาทางเศรษฐกิจด้วยอัตราการเจริญเติบโตที่สูงมากจนกลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก แต่การเติบโตก็หยุดในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2530 เมื่อญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยหลังฟองสบู่แตก[43] เศรษฐกิจที่ถดถอยต่อเนื่องยาวนานกว่าสิบปีมีทีท่าว่าจะฟื้นตัวขึ้นในต้นพุทธศตวรรษที่ 26[44] แต่กลับประสบปัญหาอีกครั้งเมื่อเกิดวิกฤติทางการเงินใน พ.ศ. 2551[45]

การเมืองการปกครอง

ประเทศญี่ปุ่นปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบเสรีภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นประมุข แต่พระจักรพรรดิไม่มีพระราชอำนาจในการบริหารประเทศ โดยมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งรัฐและความสามัคคีของชนในรัฐ[46] อำนาจการปกครองส่วนใหญ่ตกอยู่กับนายกรัฐมนตรีและสมาชิกอื่น ๆ ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ส่วนอำนาจอธิปไตยนั้นเป็นของชาวญี่ปุ่น[46] พระจักรพรรดิทรงทำหน้าที่เป็นประมุขแห่งรัฐในพิธีการทางการทูต พระองค์ปัจจุบันคือจักรพรรดิอะกิฮิโตะ ส่วนรัชทายาทคือมกุฎราชกุมารนะรุฮิโตะ

อาคารสภานิติบัญญัติแห่งญี่ปุ่นในกรุงโตเกียว

ศาลสูงสุดของญี่ปุ่น
องค์กรนิติบัญญัติของญี่ปุ่น คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ญี่ปุ่น: 国会 Kokkai ?) หรือที่เรียก "ไดเอ็ต" เป็นระบบสองสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร (ญี่ปุ่น: 衆議院 Shugi-in ?) เป็นสภาล่าง มีสมาชิกสี่ร้อยแปดสิบคนซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งสี่ปี และมนตรีสภา (ญี่ปุ่น: 参議院 Sangi-in ?) เป็นสภาสูง มีสมาชิกสองร้อยสี่สิบสองคนซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งหกปี โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกมนตรีสภาจำนวนครึ่งหนึ่งสลับกันไปทุกสามปี สมาชิกของสภาทั้งสองมาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ ส่วนผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์เป็นต้นไป[47] พรรคเสรีประชาธิปไตยเป็นพรรครัฐบาลมาโดยตลอดตั้งแต่ก่อตั้งพรรคใน พ.ศ. 2498[48] จนในปี พ.ศ. 2552 พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่นชนะการเลือกตั้ง จึงทำให้พรรคเสรีประชาธิปไตยเสียตำแหน่งพรรครัฐบาลซึ่งครองมายาวนานกว่า 54 ปี[49]
สำหรับอำนาจบริหารนั้น พระจักรพรรดิทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกโดยสมาชิกด้วยกันเองให้เป็นหัวหน้ารัฐบาล นายกรัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งรัฐมนตรีและให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือนายนะโอะโตะ คัง หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น[50]
ระบบกฎหมายของญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทางประวัติศาสตร์จากกฎหมายของจีน และมีพัฒนาการเฉพาะตัวในยุคเอโดะผ่านทางเอกสารต่าง ๆ เช่น ประมวลกฎหมายคุจิกะตะโอะซะดะเมะงากิ (ญี่ปุ่น: 公事方御定書) ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษ 2400 เป็นต้นมา ได้มีการวางรากฐานระบบตุลาการในญี่ปุ่นขนานใหญ่โดยใช้ระบบซีวิลลอว์ของยุโรปโดยเฉพาะของฝรั่งเศสและเยอรมนีเป็นต้นแบบ เช่นใน พ.ศ. 2439 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งของตน เรียก "มินโป" (ญี่ปุ่น: 民法) โดยมีประมวลกฎหมายแพ่งของเยอรมันเป็นต้นแบบ และคงมีผลใช้บังคับอยู่นับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนปัจจุบัน[51]
กฎหมายสูงสุดแห่งรัฐ คือ รัฐธรรมนูญ (ญี่ปุ่น: 憲法) และบรรดากฎหมายแม่บทของญี่ปุ่นมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ตรา พระจักรพรรดิเป็นผู้ทรงประกาศใช้โดยต้องทรงประทับพระราชลัญจกรเป็นการประกาศใช้ ทั้งนี้ โดยนิตินัยแล้วพระจักรพรรดิไม่ทรงมีพระราชอำนาจในการยับยั้งกฎหมาย ส่วนศาลของญี่ปุ่นนั้นแบ่งเป็นสามชั้นจากต่ำขึ้นไป ดังนี้ ศาลชั้นต้น ประกอบด้วย ศาลชั้นต้นทั่วไป ศาลแขวง และศาลครอบครัว, ศาลอุทธรณ์ และศาลสูงสุด ส่วนกฎหมายหลักของญี่ปุ่นเรียก "รปโป" (ญี่ปุ่น: 六法) มีสภาพเป็นประมวลกฎหมายที่สำคัญหกฉบับ
โครงสร้างพื้นฐาน
รถไฟชินกันเซ็นหรือรถไฟหัวกระสุนซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีเดินทางที่แพร่หลายในญี่ปุ่น
ใน พ.ศ. 2548 ร้อยละ 50 ของพลังงานที่ใช้ในญี่ปุ่นผลิตจากปิโตรเลียม ร้อยละ 20 จากถ่านหิน ร้อยละ 14 จากก๊าซธรรมชาติ[101] การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากนิวเคลียร์มีปริมาณหนึ่งในสี่ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด[101] ซึ่งญี่ปุ่นต้องการจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวในทศวรรษหน้า
ญี่ปุ่นมีบริษัทรถไฟหลายแห่ง เช่นกลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น รถไฟฮังคิว รถไฟเซบุ และบริษัทเคโอ ซึ่งแข่งขันกันด้านบริการในพื้นที่ต่าง ๆ ปัจจุบัน รถไฟชินกันเซ็นซึ่งเปิดใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2507 มีเครือข่ายเชื่อมโยงเมืองหลักเกือบทั่วประเทศ รถไฟของญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักในเรื่องตรงต่อเวลา[102]
การเดินทางโดยเครื่องบินเป็นที่นิยมและมีสนามบิน 173 แห่งทั่วประเทศ สนามบินฮาเนดะที่ส่วนใหญ่ให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศเป็นสนามบินที่หนาแน่นที่สุดในเอเชีย[103] สนามบินนานาชาติที่สำคัญได้แก่สนามบินนาริตะ สนามบินคันไซ และสนามบินนานาชาตินาโงยา แต่การก่อสร้างสนามบินบางแห่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการใช้งบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่าเพื่อประโยชน์ใช้สอยจริง[104] สนามบินบางแห่งขาดทุนมาตลอดตั้งแต่เปิดทำการ[105]

วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554

ประเทศญี่ปุ่น


ประเทศญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本 Nihon/Nippon นิฮง/นิปปง ?) มีชื่อทางการคือรัฐญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本国 Nihon-koku/Nippon-koku นิฮงโกะกุ/นิปปงโกะกุ ?) (จีนตัวเต็ม: 日本國; จีนตัวย่อ: 日本国) เป็นประเทศหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลี และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือ ติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอคอตสค์ เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่าถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์ จึงทำให้บางครั้งถูกเรียกว่าดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย
ญี่ปุ่นมีเนื้อที่กว่า 377,930 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอันดับที่ 61 ของโลก[7] หมู่เกาะญี่ปุ่นประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่กว่า 3,000 เกาะ เกาะที่ใหญ่ที่สุดก็คือเกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ตามลำดับ เกาะของญี่ปุ่นส่วนมากจะเป็นหมู่เกาะภูเขา ซึ่งในนั้นมีจำนวนหนึ่งเป็นภูเขาไฟ เช่นภูเขาไฟฟูจิ ภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศ เป็นต้น ประชากรของญี่ปุ่นนั้นมีมากเป็นอันดับที่ 10 ของโลก คือประมาณ 128 ล้านคน[8]
เมืองหลวงของญี่ปุ่นคือกรุงโตเกียว ซึ่งถ้ารวมบริเวณปริมณฑลเข้าไปด้วยแล้วจะกลายเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีประชากรอยู่อาศัยมากกว่า 30 ล้านคน
สันนิษฐานว่ามนุษย์มาอาศัยในญี่ปุ่นครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นครั้งแรกปรากฏขึ้นในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ในขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน พ.ศ. 2490
ญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจ โดยมีจีดีพีสูงเป็นอันดับสองของโลก ญี่ปุ่นเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ จี 8 โออีซีดี และเอเปค และมีความตื่นตัวที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของต่างประเทศ ญี่ปุ่นมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดี และยังเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี เครื่องจักร และหุ่นยนต์
                           
          จบแล้วครับ......